วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฏีทางคณิตศาสตร์

1. ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน (Drill Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการฝึกทำสิ่งนั้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง การสอนเริ่มโดยครูบอกสูครหรือกฎเกณฑ์ให้ แล้วให้เด็กทำแบบฝึกหัดมากๆ จนกระทั่งเด็กมีความชำนาญ
2. ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ (Incedental learning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อเด็กเกิดความพร้อมหรืออยากเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ การสอนจะพยายามให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด และน่าเบื่อหน่าย สอนโดยมีกิจกรรมหลากหลายและยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
3. ทฤษฎีแห่งความหมาย (Meaning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้และเข้าในในสิ่งที่เรียนได้ดีเมื่อเด็กได้เรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อตัวเอง เรียนให้มีความหมายโครงสร้าง Concept และให้นักเรียนเห็นโครงสร้างของคณิตศาสตร์ในการเรียนการสอนคณิตสาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทั้ง 3 ทฤษฎีผสมกัน โดยขึ้นกับดุลยพินิจของครูผู้สอน ว่าในแต่ละเนื้อหาวิชา ลักษณะของเด็ก สภาพแวดล้อมขณะนั้น ตลอดจนตัวผู้สอนเอง ควรจะยึดหลักทฤษฎีไหนบ้าง มากน้อยเพียงไร

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทักษะคณิตศาสตร์" สร้างได้...

เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่ ? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง... ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้าง เพราะมีหลายคนที่เข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก เพราะยังหมายรวมถึงรูปทรง การจับคู่ การชั่งตวงวัด การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การจัดประเภท เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็คือคณิตศาสตร์เช่นเดียวกันเริ่มได้เมื่อไหร่ดี เมื่อเรารู้ถึงเนื้อหาในเรื่องต่างๆ ของคณิตศาสตร์แล้ว เราจะพบว่าการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เด็กลืมตาดูโลก เมื่อลูกมองเห็นสีสันของโมบายที่คุณแม่แขวนเอาไว้ให้เหนือเปล เขาก็จะมองเห็นความแตกต่างของสีสัน บ้านที่จัดสิ่งแวดล้อมแบบนี้ให้ลูก ก็ถือว่าได้ส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเขาแล้ว เพราะหนูน้อยต้องได้สะสมประสบการณ์เหล่านี้ขึ้นมา เพื่อเป็นพี้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผู้ใหญ่จัดหมวดหมู่ไว้ในอนาคต ถ้าเราไม่ตีกรอบว่าคณิตศาสตร์ คือ จำนวนและตัวเลขเท่านั้น เราก็สามารถส่งเสริมลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด ผ่านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ความเข้าใจที่แตกต่าง การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะ สำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้วเรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว หลักของการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็ก คือ เรียนรู้จากรูปธรรมไปนามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่ไกลตัว คนไทยโบราณจะมีเพลงร้องเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเรียนเรื่องง่ายๆ ก็คือ การเรียนรู้จากอวัยวะของตัวเองนั่นเอง เช่น ตาสองตา จมูกหนึ่งจมูก หูสองหู เมื่อเด็กเกิดมานิ้วมือก็รองรับเลขฐานสิบให้เขาได้เรียนรู้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียนคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนและตัวเลขโดยไม่รู้ตัว หรือบ้านไหนที่คุณแม่จัดระเบียบ มีการแยกประเภทเสื้อผ้า เช่น ลิ้นชักชั้นล่างใส่กางเกง ชั้นสองใส่เสื้อกล้าม ชั้นสามใส่ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ลูกบ้านนี้ก็จะได้เรียนคณิตศาสตร์เรื่องการจัดกลุ่ม การแยกประเภทไปด้วยเช่นกัน จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายค่ะที่พ่อแม่บางคนพยายามค้นหาอุปกรณ์ หรือกลวิธียากๆ ในการสอนเด็ก แต่กลับละเลยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเหล่านี้ไปเด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่นและการกระทำ เราจึงควรส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้อยู่ในชีวิตประจำวันของเขา เช่น เวลาคุณแม่จัดโต๊ะอาหารก็เรียกเจ้าตัวน้อยมาช่วยจัดด้วย ว่านี่คือจานคุณพ่อ จานคุณแม่ จานพี่ เขาก็จะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เป็นต้น กิจวัตรประจำวันของเด็กมีคณิตศาสตร์ซ่อนอยู่มากมายค่ะ แม้แต่งานบ้านง่ายๆ ก็เป็นของวิเศษที่สามารถส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้ลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักดึงสิ่งเหล่านี้ออกมาให้ลูกเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมหรือกิจกรรมแล้วเปิดโอกาสให้เขามาช่วยกันคิดขอเพียงแค่เข้าใจ เมื่อเด็กเข้าเรียนอนุบาลจะเริ่มมีแบบฝึกหัดที่เป็นระบบสัญลักษณ์เข้ามา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตลูก คือ ลูกเรานั้นมีความพร้อมที่จะรับระบบสัญลักษณ์เหล่านั้นหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็ไม่ต้องบังคับว่าลูกต้องเข้าใจตอนนี้นะคะ เพราะบางครั้งลูกของเราอาจจะยังคงต้องการเรียนรู้จากสิ่งที่จับต้องได้ เราก็ควรช่วยเหลือและส่งเสริม ยกตัวอย่างนะคะ เมื่อมีการบ้านที่ต้องเติมเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่า แล้วมีตัวเลข 5 กับ 6 เราอาจช่วยเตรียมสื่อให้ลูกนับประกอบการทำการบ้านประเภทเม็ดกระดุม ก้อนหิน ฯลฯ ให้เขาเห็นเป็นรูปธรรมว่ามันมากกว่าจริงๆ เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์ที่เหมือนปากกว้างๆ นี้จะต้องหันหน้าไปกองกระดุมหรือกองก้อนหินที่มากกว่า เป็นต้น ความพร้อมของเด็กย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล คุณพ่อคุณแม่เองต้องเป็นคนคอยสังเกตว่าลูกเราอยู่ในระดับใด พร้อมมากแค่ไหน ไม่มีประโยชน์ที่จะเร่งลูกในยามที่เขายังไม่เข้าใจระบบสัญลักษณ์นะคะ การที่เราไปเร่งเด็กอาจทำให้เขามีความฝังใจว่าคณิตศาสตร์นั้นมันยากแสนยาก และไม่อยากจะเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์อีก
ข้อมูลจาก : นิตยสารรักลูก ฉบับที่ 284 เดือนกันยายน พ.ศ.2549

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Don't leave me alone

Oh ! I love you, Endless time,
I lose my mind because of you.
Oh ! I want to kill myself.
You are the only love in my life.
The only thing there is night
My love you are every breath that I take.
Oh ! I love you.
If you go say good bye, but you know this
I will always love you Bye bye!
If you go say goodbye, but you know this.
I will always love you.